วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ปัจจัยในความสำเร็จของผู้ประกอบธุรกิจ

1. ความกล้าเสี่ยง (Risk Taking) "ธุรกิจ" กับ "ความเสี่ยง" เป็นของคู่กันผู้ที่เป็นผู้ประกอบการ ชอบทำงานที่ท้าทายความรู้ ความสามารถของตนเอง และจะไม่มีความภูมิใจกับงานที่ง่าย หรืองานที่มีความเป็นไปได้ร้อยเปอร์เซ็นต์หรือเท่ากับไม่มีความเสี่ยงเลย และจะหลีกเลี่ยงงานที่มีความเสี่ยงสูงเกินไป แต่ชอบงานที่มีความเสี่ยงปานกลาง คือ มีโอกาสประสบความสำเร็จหรือความล้มเหลว ความเสี่ยงระดับนี้ได้มีการประเมินแล้ว ว่าไม่เกินความสามารถที่จะทำให้บรรลุผลสำเร็จ โดยจำเป็นต้องหาทางเลือกไว้หลายทาง เช่น การลงทุนธุรกิจ จำเป็นจะใช้เวลาศึกษาวางแผนการตลาด เลือกกระบวนการผลิตที่เหมาะสมกับวัตถุดิบ เครื่องจักร อุปกรณ์ เงินลงทุน หลักการบริหารพร้อมทั้งคำนวณผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับภายใต้ภาวะเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยีและนโยบายของรัฐ โดยศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้วค่อยตัดสินใจและพร้อมที่จะเผชิญกับปัญหา โดยมีการประเมินความเป็นไปได้อย่างดีแล้ว
      
       2. ต้องการมุ่งความสำเร็จ (Need for Achievement) เมื่อมองเห็นโอกาสแห่งความเป็นไปได้ พร้อมทั้งพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว ผู้ประกอบการจะมุ่งมั่นใช้พลังงานความคิดสติปัญญา ความสามารถทั้งหมด ทำงานหนักทุ่มเทให้กับงาน เพื่อให้บรรลุความสำเร็จตามช่องทางที่วางไว้ โดยไม่คำนึงถึงความยากลำบาก และยังคงต่อสู้ต่อไป พร้อมจะทุ่มเทเวลาทั้งหมดให้กับงาน เกิดการเรียนรู้ถึงความผิดพลาดจากที่ผ่านมา เพื่อแก้ไขไปสู่ความสำเร็จ พอใจภูมิใจที่งานออกมาดีเด่น จุดมุ่งหมายทางธุรกิจมิได้อยู่ที่ทำกำไร แต่จะทำเพื่อการขยายความเจริญเติบโตของกิจการ กำไรเป็นเพียงเครื่องสะท้อนว่าจะทำได้ และไม่เพียงสนใจที่ผลบรรลุเป้าหมาย แต่สนใจวิธีการของขบวนการที่ทำให้บรรลุเป้าหมายด้วย
      
       3. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity Thinking) เมื่อผู้ประกอบการต้องการประสบความสำเร็จ ต้องเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ไม่พอใจที่จะทำในสิ่งซ้ำ ๆ เหมือนแบบดั้งเดิม แต่เป็นผู้ที่ชอบเอาประสบการณ์ที่ผ่านมานำมาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์หาวิธีการใหม่ที่ดีกว่าเดิมนำมาใช้กับการบริหารธุรกิจ เป็นผู้เข้าถึงปัญหาแล้วหาทางแก้ไข หาแนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ ปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานอยู่ตลอดเวลา กล้าที่จะผลิตสินค้าที่แตกต่างจากตลาดที่มีอยู่เดิม กล้าใช้วิธีการขายที่ไม่เหมือนใคร กล้าประดิษฐ์ค้นคว้าสิ่งแปลกใหม่เข้าสู่ตลาด และเกือบทุกครั้งของความแตกต่างนั้นทำให้ได้ผลสำเร็จเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังกล้าคิดค้นประดิษฐ์เครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์ใหม่ ๆ มาใช้ในการผลิต นำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ พร้อมทั้งแสวงหาวัตถุดิบใหม่ ๆ มาทดแทนปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน นำระบบการจัดการสมัยใหม่ให้มีประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุนการผลิต ความคิดสร้างสรรค์นี้อาจคิดขึ้นมาเอง หรือเอาแนวคิดมาจากนักประดิษฐ์ นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษามาก็ได้
      
       4. รู้จักผูกพันต่อเป้าหมาย(Addict to Goals) เมื่อการตั้งเป้าหมาย มีการวาดภาพจินตนาการไปถึงความสำเร็จ และจะต้องทำอย่างไรถ้าล้มเหลว หาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร และจะแก้ไขอย่างไร ดังนั้นเพื่อให้เกิดความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ผู้ประกอบการจะต้องทุ่มเททุกอย่างเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เป้าหมายนั้นล้วนแต่เป็นการเอาชนะทั้งนั้น มีความคิดผูกพันที่จะเอาชนะ จนสามารถวางแผนกลยุทธ์ไว้ล่วงหน้า มีการวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคที่อาจขัดขวางในการไปสู่เป้าหมาย เตรียมป้องกันที่จะเอาชนะปัญหาอุปสรรคที่คาดว่าจะทำให้เกิดการล้มเหลว แต่ขณะเดียวกันมองโลกในแง่ดี มีความหวัง มุ่งมั่นต่อเป้าหมายของความสำเร็จจนมองเห็นอนาคต
      
       5. ความสามารถโน้มน้าวจิตใจผู้อื่น(Ability to motivate) ผู้ประกอบการที่ดีนอกจากมีความสามารถในการทำงานแล้ว ยังต้องมีความสามารถในการชักจูงโน้มน้าวจิตใจ ผู้อื่นให้ความร่วมมือช่วยเหลือในการทำงาน รู้จักใช้ความสามารถในการทำงานสร้างทัศนคติและแรงจูงใจต่อผู้ร่วมงานให้สามารถเข้าใจการทำงาน และเต็มใจปฏิบัติงานตามที่วางไว้ สามารถโน้มน้าวใจผู้ให้เงินทุน เช่น ธนาคาร ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง ให้คล้อยตามและยินดีให้การสนับสนุนทางการเงินและการลงทุน
      
       6. ยืนหยัดต่อสู้ทำงานหนัก(Hard Working) เมื่อพิจารณารอบคอบแล้วตั้งเป้าหมาย จะต้องพยายามทำงานหนัก ทำงานอย่างเต็มกำลังความสามารถ แม้ว่าจะต้องเผชิญกับปัญหาอุปสรรค ถูกกดดันอย่างใหญ่หลวงก็ไม่สามารถหยุดหยั้งได้ ขอเพียงให้งานที่รับผิดชอบสำเร็จเท่านั้น
      
       7. เอาประสบการณ์ในอดีตมาเป็นบทเรียน(Learning from Experience) เป็นคุณลักษณะสำคัญที่ควรจะปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการ เป็นการมองผลงานในอดีตที่เคยทำผิดพลาด นำมาเป็นบทเรียนสะท้อนไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้นอีก หรือนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานหรือนำไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการทำงาน ให้มุ่งไปสู่การทำงานที่ดีกว่าเดิม โดยมองเหตุการณ์ต่าง ๆ ว่าเป็นโอกาสที่จะได้เรียนรู้ในการทำงาน บางครั้งแม้ว่าจะไม่สามารถทำได้สำเร็จ ก็จะหยุดคิดเพื่อหาวิธีใหม่ ๆ มาแก้ไขปัญหา ไม่มุทะลุยึดมั่นกับแผนเดิมแล้วทำไม่ได้ ผู้ประกอบการจะต้องยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานจนทำได้สำเร็จ และฟังความคิดเห็นของผู้รู้ผู้แนะนำ
      
       8. มีความสามารถในการบริหารงานและมีความเป็นผู้นำที่ดี (Management and Leadership Capability) มีลักษณะการเป็นผู้นำ รู้หลักการบริหารงานจัดการที่ดี เมื่อต้องทำงานร่วมกับบุคลากรหลายระดับในภาวะที่แตกต่างกันออกไปตามระยะการเติบโตของกิจการ ซึ่งลักษณะของความเป็นผู้นำก็ย่อมแตกต่างกันไปด้วย โดยเฉพาะระยะเริ่มทำธุรกิจ จะต้องรับบทเป็นผู้นำ ที่ลงมือทำทุกอย่างด้วยตนเอง ทำงานหนัก เพื่อให้บรรลุความสำเร็จเอาใจใส่ผู้ร่วมงาน วางแนวทางการทำงาน พร้อมให้คำแนะนำ ผู้ร่วมงานรับคำสั่งด้วยความเต็มใจปฏิบัติ เป็นผู้กำกับดูแลอย่างใกล้ชิด และเป็นกันเอง ผลงานดำเนินไปด้วยดี ต่อมากิจการเติบโตขึ้น การบริหารงานก็เปลี่ยนแปลงไป ลูกน้องมีการเปลี่ยนแปลงและเชื่อมั่นได้มากขึ้น ไว้ใจและแบ่งความรับผิดชอบให้ลูกน้องมากขึ้น จนถึงปล่อยให้ดำเนินการเอง ส่วนตนเองจะได้มีเวลาใช้ความคิดพัฒนาผลิตภัณฑ์ ขยายกิจการหรือลงทุนใหม่ มีการวางแผนสั่งการ ตัดสินใจทำงานตามที่วางไว้ กล้าลงทุนจ้างผู้บริหารมืออาชีพมาช่วยงานมากกว่าเป็นธุรกิจเครือญาติ รู้จักปรับ เปลี่ยนแปลงการบริหารสามารถทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้
http://www.manager.co.th/images/blank.gif
http://www.manager.co.th/images/blank.gif
       9. มีความเชื่อมั่นในตนเอง(Be Self Confident) ผู้ประกอบการที่จะประสบความสำเร็จ มักจะเป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง มีความเป็นอิสระและพึ่งตนเองได้ มีความมั่นใจ ตั้งใจเด็ดเดี่ยว เข้มแข็งมีลักษณะเป็นผู้นำ และมีความเชื่อมั่นที่จะพิชิตเอาชนะสิ่งแวดล้อมที่น่าสะพรึงกลัวได้ มีความทะเยอทะยาน และไม่ประเมินความสามารถของตนเองสูงเกินไป หรือเชื่อมั่นตัวเองมากเกินไป จึงไม่แปลกที่ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ เคยมีประวัติความล้มเหลวมาแล้วหลายครั้ง โดยเฉพาะช่วงแรกของชีวิตการทำงาน แต่จะไม่เลิกล้ม จนสามารถต่อสู้ปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ได้สำเร็จ เชื่อมั่นว่า ไม่ว่าสถานการณ์อย่างไรจะต้องพึ่งตนเองได้ ปัจจัยอื่นเป็นปัจจัยเสริมเท่านั้น การทำงานหนัก ความทะเยอทะยานและการแข่งขันจะเป็นสิ่งสนับสนุนตนเองได้ดีที่สุด
      
       10. มีวิสัยทัศน์กว้างไกล(Visionary) เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ สามารถที่จะวิเคราะห์เหตุการณ์ในอนาคตข้างหน้าได้อย่างแม่นยำและพร้อมรับเหตุการณ์ที่จะเปลี่ยนแปลง
      
       11. มีความรับผิดชอบ(Responsibility) รับผิดชอบต่องานที่ทำเป็นอย่างดี เป็นผู้นำในการทำสิ่งต่าง ๆ มักจะมีความคิดริเริ่มแล้วลงมือทำเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นทำ และเป็นผู้ดูแลจนงานสำเร็จไปตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยจะรับผิดชอบผลการตัดสินใจ ไม่ว่าจะผลออกมาจะดีหรือไม่ มีความเชื่อว่าความสำเร็จเกิดจากความเอาใจใส่ ความพยายาม ความรับผิดชอบมิใช่เกิดจากโชคหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทำให้เกิดขึ้น
      
       12. มีความกระตือรือร้น และไม่หยุดนิ่ง(Enthusiastic) มีการทำงานที่เต็มไปด้วยพลัง มีชีวิตชีวาที่ยากจะทัดทาน มีความกระตือรือร้น ทำงานทุกอย่างโดยไม่หลีกเลี่ยง ทำงานหนักมากกว่าคนปกติทั่วไป เร่งรัดตัวเองทุกวัน มีพลังผูกพันตัวเองไม่อยู่นิ่งด้วย
      
       13. ใฝ่หาความรู้เพิ่มเติม(Take New Knowledge) ถึงแม้จะเชี่ยวชาญชำนาญในการ แต่ความรู้และประสบการณ์อย่างอื่น หรือที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอ ก็ต้องหาความรู้เพิ่มเติมอยู่ โดยเฉพาะความรู้ข้อมูลทางการตลาด เศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย ทั้งในและต่างประเทศ ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เขาวิเคราะห์สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ความรู้ไม่มีวันเรียนจบ ความรู้อาจจะได้จากการสัมมนาฝึกอบรม อ่านหนังสือทำให้มีความรู้เพิ่มขึ้น และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญมาช่วยให้ข้อคิดเห็นแก้ไขปัญหา สิ่งเหล่านี้จะเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้งานสำเร็จเร็วขึ้น
      
       14. กล้าตัดสินใจและมีความมุมานะพยายาม(Can Make Decision and Be Attempt) กล้าตัดสินใจมีความหนักแน่นไม่หวาดหวั่น เชื่อมั่นในตนเองกับงานที่ทำ มีจิตใจของนักต่อสู้ แม้งานจะหนักก็ทุ่มเทให้สุดความสามารถ ไม่กลัวงานหนัก ถือว่างานหนักนั้นเป็นงานท้าทายใช้ความรู้ สติปัญญา ความสามารถของตนเองในการทำงาน และจะภูมิใจเมื่อทำได้สำเร็จ ความมุมานะพยายามนั้น เป็นการทุ่มเทชีวิตจิตใจ มีการแข่งขันกับตัวเองและแข่งขันกับเวลาขวนขวายหาทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคจนสามารถบรรลุผลสำเร็จ
      
       15. อย่าตั้งความหวังไว้กับผู้อื่น(Independent) ผู้ประกอบการที่เพิ่งเริ่มทำธุรกิจ มักใช้น้ำพักน้ำแรงที่มาจากตนเอง จึงมีการผลักดันให้ผู้ที่อยู่รอบด้านทำงานหนักอย่างเต็มที่เช่นเดียวกับตนเพื่อให้งานสำเร็จ และมุ่งหวังความสำเร็จ
      
       16. มองเหตุการณ์ปัจจุบันเป็นหลัก(Focus on Current Situation) ผู้ประกอบการบางคนมักจะฝังใจในอดีต ซึ่งบางคนประสบความสำเร็จ บางคนล้มเหลวแล้วไม่สามารถปรับตัวเองได้ บางคนปรับตัวได้โดยพยายามเข้าใจในอดีต บางคนมีแต่โลกแห่งความฝัน สร้างวิมานในอากาศ แล้วไม่ลงมือทำ จึงไม่บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องทำงานปัจจุบันให้ดีที่สุด คิดถึงอนาคตด้วยการวางแผนไว้อย่างรอบคอบ
      
       17. สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม(Adaptable) ต้องเชื่อมั่นในความสามารถของตนที่จะปรับตนเองให้เป็นไปตามต้องการของสภาพแวดล้อมมากกว่าปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามยถากรรม หรือขึ้นอยู่กับโชค หรือดวง
      
       18. รู้จักประมาณตนเอง(Self Assessment) การทำอะไรรู้จักประมาณตนเอง ไม่ทำสิ่งใดเกินตัว เกินความสามารถ จะได้ไม่ประสบกับความล้มเหลวในการลงทุนทำธุรกิจ ในระยะแรกการคาดการณ์ตลาดยังไม่ชัดเจน แต่ทำธุรกิจแบบใจใหญ่ แทนที่จะเริ่มเล็ก ๆ ไปก่อน แต่กลับไปลงทุนใหญ่ที่เดียว ผลลัพธ์ไม่สามารถหาตลาดได้ สินค้าที่ผลิตได้ก็ไม่สามารถจะระบายออกไปได้ ผลสุดท้ายมีสินค้าค้างสต็อก เงินทั้งหมดก็มาจมอยู่กับสินค้า ไม่สามารถหาเงินลงทุนต่อไปได้ นี่เป็นสาเหตุของความเกินตัว ทำให้ธุรกิจล้มเหลวได้
      
       19. ต้องมีความร่วมมือและแข่งขัน(Participation and Competition) การทำธุรกิจย่อมมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ เพื่อกำไร แม้ว่าจุดม่งหมายเดียวกันก็ไม่จำเป็นต้องแข่งให้ล้มไปข้างหนึ่ง ยังมีวิธีการที่จะมุ่งสู่ความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจประเภทเดียวกัน ด้วยวิธีการที่แตกต่างกันออกไป ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจประเภทเดียวกันจะต้องไม่พยายามทำธุรกิจให้เกิดผู้แพ้ผู้ชนะ แต่ต้องดำเนินให้เกิดเพียงผู้ชนะอย่างเดียว ร่วมมือกันพึ่งพาอาศัยกันเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดโดยร่วมกันตั้งเป็นสมาคม ชมรม เพื่อช่วยเหลือกัน การทำธุรกิจต้องมีการแข่งขัน ควรแข่งขันในเรื่องพัฒนาผลิตภัณฑ์ คุณภาพ บริการ ด้านลดต้นทุนการผลิต ถ้าไม่มีการแข่งขัน ก็จะไม่มีการพัฒนาเกิดขึ้น
      
       20. ประหยัดเพื่ออนาคต(Safe for Future) การดำเนินธุรกิจต้องใช้ระยะเวลายาวนานกว่าจะบรรลุเป้าหมาย การดำเนินงานระยะสั้นยังไม่เห็นผล ผู้ประกอบการต้องมีการประหยัด อดออมไว้เพื่อนำไปขยายกิจการในอนาคต ต้องรู้จักห้ามใจที่จะหาความสุขความสบายในช่วงที่ธุรกิจอยู่ในช่วงตั้งตัว เพื่ออนาคตข้างหน้า
      
       21. มีความซื่อสัตย์(Loyalty) ต้องมีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้าในด้านคุณภาพสินค้าและต้องสร้างความเชื่อถือของตัวเองในการเป็นลูกหนี้ที่ดีของธนาคาร เป็นนายที่ดีของลูกน้อง มีความซื่อสัตย์ต่อหุ้นส่วน ต่อครอบครัว และต่อตนเอง


สถานที่ในการประกอบธุรกิจ


สถานที่ในการประกอบธุรกิจอาจจะเป็นที่ที่มีผ็คนสันจรไปมามากมายหรืออาจจะเป็นที่ที่เหมาสำหรับการทำกิจกรรมต่างเช่นๆ ตลาดนัด ตลาดขายอาหาร หรืออาจจะเปิดร้านโดยเฉพาะก้ได้

แหล่งในการกู้ยืมเงินในการลงทุน



เมื่อผ่านจุดตั้งต้นธุรกิจมาได้แล้ว จึงถึงเวลาเริ่มมองหาทุนเพื่อขยายกิจการและเร่งการผลิตให้ทันต่อการแข่งขันในตลาด แต่ด้วยความที่ธุรกิจยังอยู่ในจุดเริ่มต้น ยังไม่เป็นที่รู้จัก จึงเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะระดมทุนด้วยการยื่นเสนอขายหุ้นในตลาด อย่างไรก็ดี ยังมีแหล่งทุนอื่นๆ ที่เข้าถึงได้และสามารถช่วยธุรกิจขนาดกลางและย่อมที่เพิ่มเริ่มต้นอยู่พอสมควร ตั้งแต่คนใกล้ตัวที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเราเช่นคุณพ่อคุณแม่ หรือแหล่งเงินทุนที่เป็นองค์กรอย่างธนาคารและนักลงทุน
ธนาคารพาณิชย์ถือเป็นแหล่งเงินทุนอันดับต้นๆ ที่เรามักนึกถึง เนื่องจากพบได้ทั่วไปและมีโปรโมชั่นออกมาเป็นจำนวนมาก แต่การขอสินเชื่อจากธนาคารก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเสียทีเดียว เพราะธนาคารก็จะต้องพิจารณาความน่าเชื่อถือและโอกาสในการเติบโตของธุรกิจก่อนจึงจะอนุมัติให้สินเชื่อ โดยแผนส่วนใหญ่จะกำหนดคุณสมบัติของผู้กู้ต้องมีประสบการณ์ในด้านธุรกิจที่เกี่ยวข้องมาแล้ว 1-3 ปี ซึ่งน่าจะเป็นหลักประกันว่าผู้ประกอบการรู้จักธุรกิจนั้นๆ ดีในระดับหนึ่ง อีกทั้งหลายธนาคารก็มีข้อบังคับว่าผู้ประกอบการจะต้องนำเสนอแผนธุรกิจที่ชัดเจนและเป็นไปได้ก่อนการขออนุมัติสินเชื่อด้วย ดังนั้นการกู้ผ่านธนาคารอาจเหมาะกับเจ้าของกิจการที่ดำเนินงานมาสักระยะเกิน 1 ปีขึ้นไป ซึ่งจุดประสงค์ของการให้สินเชื่อก็เพื่อเพิ่มความคล่องตัวของเงินทุนหมุนเวียนและเพื่อการขยายตัวของกิจการ
เมื่อเราตัดสินใจจะกู้เงินจากธนาคารแล้ว เราต้องศึกษาในรายละเอียดว่าในแต่ละแผนกำหนดให้ต้องเตรียมนำเสนออะไรบ้าง อาทิ คนค้ำประกัน หรือเครื่องค้ำประกันอื่นๆ เช่น สิ่งปลูกสร้าง สัญญาเช่าอาคาร แผนพัฒนาธุรกิจ เป็นต้น และธนาคารส่วนใหญ่มักขอดูเอกสารสำคัญของบริษัท เช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท เอกสารภาษี ซึ่งการเตรียมการให้พร้อมก็เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นให้ธนาคารอีกทางหนึ่ง
ธนาคารได้ผนวกบทบาทเป็นผู้ให้องค์ความรู้แก่
ผู้ประกอบการ ประคองให้กิจการเดินหน้าไปได้ รวมทั้งสร้างเครือข่ายธุรกิจ
นอกเหนือจากบทบาทแหล่งเงินทุนสินเชื่อแล้ว ช่วงหลังๆ ธนาคารต่างๆ ก็เริ่มเข้ามามีบทบาทในการช่วยสนับสนุนช่วงเริ่มต้นและช่วงการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมากขึ้น โดยธนาคารได้ผนวกบทบาทเป็นองค์กรให้องค์ความรู้ผู้ประกอบการ ประคับประคองให้กิจการเดินหน้าไปได้ รวมทั้งสร้างเครือข่ายธุรกิจ อย่างเช่นโครงการ K SME Care ของธนาคารกสิกรไทย ซึ่งให้เจ้าของกิจการไม่ว่าจะเป็นลูกค้าของธนาคารหรือไม่สามารถเข้าร่วมโครงการเพื่อเข้าอบรม รวมทั้งเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมุมมองทางธุรกิจกับเครือข่ายผู้ประกอบการรายอื่นๆ ด้วย
สิ่งที่นักลงทุนจะได้รับจากการลงทุนในธุรกิจหนึ่ง
ขึ้นอยู่กับการเติบโตและ
ผลประกอบการของบริษัทเป็นหลัก ทำให้นักลงทุนมักจะเป็นผู้ให้ความรู้และแนวทางในการดำเนินธุรกิจ หรือบางรายอาจส่งคนจากทีมเข้ามาบริหารงาน
สำหรับแหล่งทุนจากนักลงทุนจะมีวัตถุประสงค์การให้ทุนที่ต่างจากธนาคาร กล่าวคือธนาคารจะได้ประโยชน์จากการให้สินเชื่อโดยเก็บดอกเบี้ยจากผู้ขอสินเชื่อเป็นงวดๆ ไป ในขณะที่นักลงทุนจะมุ่งหวังการครอบครองหุ้นหรือกรรมสิทธิ์ในบริษัท นั่นหมายความว่าสิ่งที่นักลงทุนจะได้รับจากการลงทุนในสักธุรกิจหนึ่งจึงต้องขึ้นอยู่กับการเติบโตและผลประกอบการของบริษัทเป็นหลัก ทำให้นักลงทุนมีอีกลักษณะที่แตกต่างจากธนาคาร คือมักจะเป็นผู้ให้ความรู้และแนวทางในการดำเนินธุรกิจ หรือบางรายอาจส่งคนจากทีมเข้ามาบริหารงานในธุรกิจ
โดยหลักๆ แล้วมีนักลงทุนอยู่ไม่กี่ประเภท ประเภทแรกคือนักลงทุนรายบุคคล หรือที่เรียกว่า angel investor และนักลงทุนระดับองค์กร venture capitals หรือที่เรียกกันบ่อยๆ ว่า VC ซึ่งที่จริงแล้วนักลงทุนทั้งสองประเภทนี้เป็นที่นิยมในบรรดาธุรกิจ startup ต่างประเทศเสียมาก และยังไม่ค่อยมีนักลงทุนประเภทนี้ในประเทศไทยมากนัก
angel investor สามารถเป็นใครก็ได้ ส่วนใหญ่มักเป็นนักลงทุนรายบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในเรื่องต่างๆ แตกต่างกันไป
สำหรับนักลงทุนประเภทนี้เป็นนักลงทุนอิสระที่สามารถให้ทุนเราได้โดยทันที ไม่ต้องมีแบบแผนในการยื่นขอทุนมากมาย เนื่องจากเป็นการติดต่อกับตัวบุคคลโดยตรงและทุนที่ให้ก็มักเป็นเงินทุนส่วนตัว การตัดสินใจให้ทุนก็มักอาศัยความเชื่อมั่นระหว่างกันเสียมาก ขณะเดียวกัน angel investor ก็มักจะเน้นน้ำหนักให้ความสำคัญกับแนวคิดธุรกิจที่น่าสนใจมากกว่าที่จะเน้นเรื่องผลตอบแทนในการลงทุน แต่ก็ใช่ว่าจะไม่สนใจเรื่องผลตอบแทนเลย อันที่จริง angel investor ก็อาจขอผลตอบแทนเป็นสิทธิ์ในการถือหุ้น ส่วนเรื่องการบริหารงานในธุรกิจ angel investor มักจะไม่ค่อยเข้ามาก้าวก่ายการบริหารงานมากนัก มักจะปล่อยให้เจ้าของไอเดียเป็นคนบริหารให้ธุรกิจเดินหน้าไปได้ แต่มักจะเข้ามามีบทบาทเป็นผู้ให้คำปรึกษาและคำแนะนำมากกว่า
angel investor สามารถเป็นใครก็ได้ ส่วนใหญ่มักเป็นนักลงทุนรายบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในเรื่องต่างๆ แตกต่างกันไป นอกจากจะให้ทุนแล้ว angel investor ยังสามารถให้ความช่วยเหลือด้านอื่นๆ เช่นให้ความรู้ สอนประสบการณ์ที่เคยผ่านมา ยิ่งไปกว่านั้นยังอาจช่วยแนะนำให้เราได้รู้จักบุคคลอื่นๆ ที่เป็นสามารถเป็นแหล่งทุนให้เราได้อีกด้วย
VC เป็นนักลงทุนในรูปแบบองค์กร หรืออาจเรียกว่าเป็นองค์กรที่ประกอบขึ้นมาจากนักลงทุนหลายๆ คนรวมตัวกัน มีการรวมเงินลงทุนเป็นก้อนเดียวและบริหารจัดการว่าจะนำเงินลงทุนก้อนใหญ่นั้นไปแบ่งลงทุนกับธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตสูงอย่างไรบ้าง จึงอาจกล่าวได้ว่า VC อาจพิจารณาให้เงินทุนในจำนวนที่สูงกว่า angel investor ส่วนใหญ่ และเหมาะสำหรับกิจการที่ต้องการเงินก้อนใหญ่
โดยหลักๆ VC จะมุ่งหวังกำไรจากการลงทุนอย่างมาก และมองข้ามขั้นไปจนถึงว่าสามารถขายต่อกิจการของเราเพื่อเก็งกำไรในตลาดหุ้นได้
โดยหลักๆ VC จะมุ่งหวังกำไรจากการลงทุนอย่างมาก และมองข้ามขั้นไปจนถึงว่าสามารถขายต่อกิจการของเราเพื่อเก็งกำไรในตลาดหุ้นได้ ด้วยเหตุนี้ VC จึงมักส่งคนเข้ามาบริหารกิจการ เพื่อกำกับดูแลให้ธุรกิจของเราเติบโตได้ตามคาดหวัง รวมทั้งช่วยให้ความรู้และคำปรึกษาในเรื่องการบริหารธุรกิจด้วย สำหรับระดับการลงทุนของ VC มีตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นธุรกิจ ขั้นขยายกิจการ ระยะก่อนการเสนอขายหุ้นแก่สาธารณะชนเป็นครั้งแรก (IPO) หรือแม้แต่ระยะพลิกฟื้นธุรกิจ
อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่ว่า VC ให้ความสำคัญเกี่ยวกับกำไร และธรรมชาติของกลุ่มที่ประกอบด้วยนักลงทุนหลายคน การตัดสินใจก่อนอนุมัติให้ทุนจึงใช้เวลาและความรอบคอบอย่างมาก เพื่อให้แน่ใจว่าหากให้ทุนไปแล้วจะไม่สูญเปล่าและได้ผลตอบแทนกลับมาเต็มที่ ดังนั้นการขอทุนจาก VC จึงต้องมีเตรียมตัวนำเสนอธุรกิจอย่างมีระบบแบบแผนที่ชัดเจนและน่าสนใจ ต้องเตรียมเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษร และที่สำคัญที่สุดคือต้องสามารถอธิบายขั้นตอนและแบบแผนการทำธุรกิจได้อย่างสร้างสรรค์และมีหลักการ จนนักลงทุนกลุ่มนี้สามารถมองเห็นโอกาสที่ชัดเจน และตกลงปลงใจที่จะให้เงินเราในท้ายที่สุด

แต่ทั้งนี้ไม่ว่าจะหาทุนด้วยการขอสินเชื่อธนาคารหรือขอทุนจากนักลงทุน หรือแม้แต่จากคนรู้จักที่มีความหวังดีต่อเราก็ตาม สิ่งที่เราควรทำคือต้องรักษามารยาทในการดำเนินการขอความช่วยเหลือ ตั้งแต่นำเสนอโครงการอย่างตั้งใจและมุ่งมั่น ยินดีตอบข้อซักถาม ต้องประเมินสถานการณ์อย่างเป็นกลางและรับฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูดอย่างตั้งใจเสมอ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมลงทุนมีส่วนแสดงความคิดเห็นด้วย สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานของความสำเร็จในการหาทุนและการทำธุรกิจด้วย

ส่วนผสมและวิธีการทำ


ส่วนผสม

1. แป้งขนมปัง  300  กรัม
2. แป้งเค้ก  200   กรัม
3. นมสด    200   กรัม
4. เกลือ    1 /2  ช้อนชา
5. ยีสต์     8    กรัม
6. เนย     200   กรัม
7. ไข่ไก่     75    กรัม

8. น้ำตาล    3 ช้อนโต๊ะ

วิธีการทำ
1. นำส่วนผสมทั้งหมดมารวมกัน (ยกเว้นเนย) แล้วจัดการนวดแป้ง โดยใส่ส่วนของเนยทีหลังตอนที่แป้งกับของเหลวเริ่มเข้ากันแล้ว


2. ได้แป้งเนียนๆออกมาแบบนี้แล้ว......ก็นำไปพักไว้ 15นาที



3. คลึงเป็นก้อนกลมไว้เลยนะคะ ขนาดทำแค่ครึ่งสูตรแป้งครึ่งกิโลยังทำออกมาได้ตั้ง 29 ชิ้นแน่ะค่ะ
    จากนั้นก็พักแป้งต่ออีก 45 นาทีค่ะ 

4. เมื่อครบเวลาแล้ว........ก็มาเริ่มลงมือกันได้เลยค่ะ เตรียมเครื่องอบขนม...กับส่วนใส้และหน้าต่างๆได้เลยค่ะ 


5. จัดการแผ่แป้ง....วางส่วนใส้ลงไป  จีบปิดให้มิดแล้ววางใส่ในเครื่องได้เลยค่ะ 
                                      

6. ใช้เวลาอบไม่นานค่ะ 2- 3 นาทีก็เรียบร้อยค่ะ










ราคาสินค้าในการผลิต


1.แป้งขนมปัง    25 บาท
2.แป้งเค้ก   25 บาท
3.นมสด 20 บาท
4.เกลือ 20 บาท
5.ยีสต์ 30 บาท
6.เนย  35 บาท
7.ไข่ไก่ 10 บาท
8.น้ำตาล  20 บาท

แนะนำร้านวาฟเฟิลน่าทาน


Smoothies Secrett
ดินแดนแห่งความลับ ที่กำลังรอให้ลูกค้าไปไขปริศนาที่ซ่อนอยู่ โดยใช้เรื่องราวของความลับ ปริศนา และการหาตำตอบ เป็นธีมในการตกแต่งร้าน นอกจากนี้สิ่งที่โดดเด่นของร้านก็คือ Shibuya Waffle เป็นเมนูสเปเชียลของทางร้าน ที่ดูอลังการมากๆค่ะ โดยส่วนผสมของตัววาฟเฟิ้ลจะใช้นมฮอกไกโด และกล้วยรับรองว่าทานเยอะเท่าไรก็ไม่หวานเลี่ยนเกินไปแน่นอน

 



ลักษณะรูปร่างของวอฟเฟิล


ลักษณะรูปร่างของวอฟเฟิลโดยทั่วไปในปัจจุบัน ก็จะเห็นเป็นรอยร่องของแม่พิมพ์บนชิ้นขนม ซึ่งก็จะมีทั้งแม่พิมพ์ที่เป็นร่องตื้น ที่ใช้ทำวอฟเฟิลชิ้นบางๆ และแม่พิม์ที่เป็นร่องลึก ที่ใช้ทำวอฟเฟิลชิ้นหนา ซึ่งต่างจากสมัยก่อนที่กล่าวมาข้างต้นว่าวอฟเฟิลมีรูปร่างแบน ๆ  และสาเหตุที่ต้องทำแม่พิมพ์วอฟเฟิลให้เป็นร่อง ก็เพื่อต้องการที่จะให้วอฟเฟิลนั้นสุกทั่วถึงกันทั้งชิ้น  
 สำหรับแม่พิมพ์วอฟเฟิลที่กล่าวมานั้นปัจจุบันก็มีการพัฒนารูปแบบมากขึ้นจากเดิมที่เราต้องนำแม่พิมพ์ไปตั้งไฟให้ร้อนก็กลายมาเป็นแม่พิมพ์ที่ใช้ไฟฟ้าแทน ซึ่งมีผู้ได้บันทึกไว้ว่า นาย โทมัส เจฟเฟอสัน สเตเบ็ค ได้เป็นผู้ประดิษฐ์แม่พิมพ์วอฟเฟิลไฟฟ้าเป็นคนแรกในช่วงปี คริสตศักราช 1900 – 1960 

      ในบ้านเราวอฟเฟิลก็ได้เป็นที่รู้จักกันมานานแล้ว และจะคุ้นหูกับการเรียกขนมชนิดนี้ว่าขนมรังผึ้ง  แต่ก็ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่าเกิดขึ้นเมื่อใด โดยส่วนใหญ่ขนมรังผึ้งของบ้านเรา ก็จะใช้แป้งข้าวจ้าวหรือแป้งสาลี น้ำตาล ไข่ไก่และกะทิ เป็นส่วนผสมหลัก ผสมให้เข้ากันจนเนื้อเนียน แล้วนำมาราดบนพิมพ์เหล็กร่องตื้นที่ตั้งไฟให้ร้อน นอกจากนี้ยังมีการปรุงแต่งรสชาติให้ หลากหลาย โดยการเติมส่วนผสมต่าง ๆ ลงไป เช่น มะพร้าว ข้าวโพดหรือเผือก เป็นต้น และเนื่องจากรูปลักษณ์ที่สวยงาม  คลาสสิก  รสชาติที่กลมกล่อมหวานละมุนและกลิ่นหอมไม่เหมือนใคร ทำให้เป็นที่นิยมของใครหลายคน
      1.1 วอฟเฟิลชนิดแป้งนุ่ม ลักษณะเป็นแป้งข้นเหลวส่วนผสมทั่วไปก็จะมีแป้งสาลี น้ำตาล นม ไข่ไก่ใช้เทลงบนพิมพ์ ได้หลายรูปแบบทั้งแบบพิมพ์ร่องตื้นและพิมพ์ร่องลึก มีทั้งแบบสูตรนมสด และสูตรกะทิสด รสชาติแตกต่างกันไป โดยมากนิยมรับประทานเป็นอาหารเช้า เสิร์ฟพร้อมกับน้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อมรสต่าง ๆ 

      1.2 วอฟเฟิลชนิดแป้งกรอบ  ลักษณะคล้ายแป้งนุ่ม  แต่เน้นที่ความกรอบของผิวหน้าและมีขนาดที่บางกว่าโดยการลดส่วนผสมของน้ำหรือนมในส่วนผสมลง  นิยมใช้ตกแต่งหรือรับประทานกับไอศกรีมหรือประกอบเข้ากับอาหารชนิดอื่น  ส่วนใหญ่รสชาติไม่เข้มข้น  มักราดด้วยน้ำผึ้ง  น้ำหวาน  หรือปรุงแต่งหน้าด้วยวิปปิ้งครีมหรือท็อปปิ้งอื่น ๆ